Feeds:
เรื่อง
ความเห็น

Archive for พฤษภาคม, 2011

รั้วบ้านเป็นสิ่งที่เราใช้เพื่อแบ่งกันอาณาเขตของเราและเพื่อนบ้าน บางท่านทำรั้วบ้านสูงท่วมหัว บางบ้านใช้เพียงต้นไม้เตี้ยๆเป็นแนวกันรั้ว แตกต่างกันไปตามความชอบของแต่ละคน แต่สิ่งที่สำคัญที่ใช้เป็นการแบ่งแนวเขตจริงๆคือหลักหมุดที่ปักให้โดยกรม ที่ดิน ซึ่งแนวดังกล่าวไม่สามารถบอกได้ว่ามีขนาดเท่าใด แต่รั้วบ้านนั้นมีขนาดตามที่เจ้าของบ้านต้องการ ในการก่อสร้างรั้วบ้าน ด้านข้างส่วนใหญ่จะติดต่อกับเพื่อนบ้าน ดังนั้นการวางรั้วเราจะต้องวางแนวกึ่งกลางรั้วไว้ที่แนวแบ่งเขตที่ดิน ( จากกึ่งกลางหลักเขตถึงกึ่งกลางหลักเขต ) ซึ่งทำให้แนวรั้วนั้นอยู่ในเขตเราครึ่งหนึ่ง และอยู่ในเขตบ้านข้างเคียงอีกครึ่งหนึ่ง
แต่รั้วด้านหน้าบ้านของเรานั้นมักจะติดกับทางสาธารณะ การก่อสร้างแนวรั้วจะต้องวางให้ขอบรั้วด้านนอกอยู่ในแนวของเขตที่ดิน ห้ามมีส่วนหนึ่งส่วนใดของสิ่งปลูกสร้างล้ำเข้าไปในที่สาธารณะโดยเด็ดขาด

Read Full Post »

โดยทั่วไปบ้านพักอาศัยที่เราปลูกสร้างกันจำนวนมากมักสูงจากพื้นประมาณ 40-70 ซม. สำหรับบ้านที่ต้องการยกพื้นสูงกว่านั้นจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม หรือที่กำลังเป็นเรื่องน่าห่วงใยสำหรับพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทยของเรา นั้น ก็คือเรื่องของน้ำท่วม เจ้าของบ้านและผู้ออกแบบบ้านหลาย รายเริ่มให้ความสนใจในการยกพื้นบ้านให้สูงขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันน้ำท่วมในเบื้องต้น ซึ่งปกติทั้งเจ้าของบ้านและสถาปนิกชอบยกพื้นชั้นล่างให้สูงขึ้น 1.00 เมตร เพราะเป็นตัวเลขที่ลงตัวดี แต่ความจริงแล้ว การยกพื้นสูง 1.00 เมตรจะแพงมาก เนื่องจากระยะ 1.00 เมตร เป็นระยะที่ต้องใช้ทรายถมแทนไม้แบบ หากใช้ไม้แบบก็ต้องทิ้งไม้แบบนั้นไปเลย เพราะความสูงใต้พื้นคานไม่พอที่จะคลานเข้าไปนำไม้แบบกลับคืนออกมา หากอยากประหยัดขอแนะนำให้ยกขึ้นไม่น้อยกว่า 1.20 เมตร ซึ่งจะมีความสูงใต้พื้นคานเพียงพอที่จะเอาไม้แบบคืนมาหรือก็ไม่ต่ำกว่า 1.00 เมตร ไปเลย จะได้เสียค่าทรายถมแทนไม้แบบน้อยลง แต่หากกรณีเป็นพื้นสำเร็จ ก็อาจจะใช้ระยะที่ 1.00 เมตรได้ เพราะใต้พื้นสำเร็จมีเฉพาะเสาเล็กๆ ค้ำยันอยู่ การย้ายเอาออกมาจึงง่าย และไม่จำเป็นต้องถมทรายไปสูงจนถึงท้องพื้นด้วยครับ

Read Full Post »

Articles in CONTENTS

เสาเข็ม ที่ใช้กับบ้านของเรามีกี่ประเภท

เสาเข็มที่ใช้ในการสร้างบ้าน สร้างอาคารต่างๆทั่วไปจะแยกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ เสาเข็มตอกและเสาเข็มเจาะ ( ส่วนเสาเข็มพิเศษประเภทอื่นๆ เช่น Micro Pile ซึ่งเป็นเสาเข็มชนิดพิเศษไม่ค่อยได้ใช้ในงานทั่วไป ) เสาเข็มตอกและเสาเข็มเจาะเองก็ยังสามารถแยกออกได้อีกเป็นอย่างละ 2 ประเภท ซึ่งสรุปรวมวิธีการทำงาน และจุดดีจุดด้อย น่าจะสรุปพอเป็นสังเขปได้ดังต่อไปนี้
1) เสาเข็มตอกทั่วไป จะมีหน้าตาต่างๆ กันมีทั้งแบบสี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม และเป็นรูปตัวไอ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีหน้าตัดตันทั้งต้น เวลาตอกก็ตอกลงไปง่ายๆ อย่างที่เราเห็นกันโดยทั่วไป

2) เสาเข็มกลมกลวง เป็นเสาเข็มที่สามารถรับแรงได้มากกว่าเสาเข็มตอกทั่วไป เปรียบเทียบกันในปริมาณคอนกรีตเท่าๆ กัน เพราะสามารถทำให้โตกว่า ผลิตโดยการปั่นหมุนคอนกรีตให้เสาเข็มออกมากลมและกลวง เวลาตอกส่วนใหญ่จะขุดเป็นหลุมก่อนแล้วกดเสาเข็มลงไป พอถึงระดับที่ต้องการจึงจะเริ่มตอก ทำให้มีส่วนของเสาเข็มไปแทนที่ดินน้อยลง ( ดินถูกขุดออกมาบางส่วนแล้ว ) อาคารข้างเคียงเดือดร้อนน้อยลงจากการเคลื่อนตัวของดิน ( แต่ความดัง ฝุ่นละออง และความสะเทือนยังคงอยู่ )
3) เสาเข็มเจาะแบบแห้ง เป็นระบบเสาเข็มเจาะขนาดเล็ก ส่วนใหญ่จะลึกประมาณ 20 เมตร ( แล้วแต่ระดับชั้นทราย ) รับน้ำหนักได้ไม่เกิน 120 ตันต่อต้น วิธีการก็คือทำการเจาะดินลงไป ( แบบแห้งๆ ) แล้วก็หย่อนเหล็กเทคอนกรีตลงไปในหลุม ราคาจะแพงกว่าระบบเข็มตอก แต่เกิดมลภาวะน้อยกว่ามาก ทั้งเรื่องการเคลื่อนตัวของดิน ความสั่นสะเทือน ฝุ่นละออง จึงเป็นที่นิยมใช้กันในที่ที่มีคนอยู่หนาแน่น

4) เสาเข็มเจาะแบบเปียก ทำเหมือนเสาเข็มเจาะแห้ง แต่เวลาขุดดินจะขุดลึกๆ แล้วใส่สารเคมีลงไปเคลือบผิวหลุมดินที่เจาะให้ทำหน้าที่เป็นตัวยึดประสานดิน และกันดินไม่ให้พังทลายลงเวลาเจาะลึกๆ ( ซึ่งสามารถเจาะได้ลึกกว่า 70 เมตร ) รับน้ำหนักได้มากและเกิดมลภาวะน้อย แต่ราคาแพง ส่วนการเลือกว่าจะใช้เสาเข็มแบบไหนดีนั้น ต้องตั้งข้อสังเกตและทราบปัญหาก่อน แล้วเปรียบเทียบความจำเป็น และความเป็นไปได้ของแต่ละระบบในแต่ละงาน โดยยึดถือหลักประจำใจในการพิจารณาดังนี้

  • ราคา
  • บ้านข้างเคียง ( มลภาวะ )
  • ความเป็นไปได้ในการขนส่งเข้าหน่วยงาน
  • เวลา ( ทั้งเวลาทำงาน และเวลาที่ต้องรอคอย )

ในการเลือกระบบเสาเข็มนี้ ต้องขอร้องให้วิศวกรออกแบบเสาเข็มและฐานรากหลายๆ แบบให้ดู ( อย่าเกิน 3 แบบ เพราะต้องเกรงใจวิศวกรท่านบ้าง ) ต้องวิเคราะห์รวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องราคาและเวลาของเสาเข็มและฐานราก จึงจะใช้เป็นข้อยุติได้ หลีกเลี่ยงเสาเข็มราคาถูกและทำเร็ว แต่อย่าให้บานรากราคาแพงและล่าช้า ซึ่งจะทำให้ทั้งโครงการล่าช้าไปหมด

Read Full Post »

Articles in CONTENTS

เมื่อเราพูดถึงปูนซีเมนต์ คนทั่วไปส่วนใหญ่ไม่ค่อยสนใจว่าปูนซีเมนต์ที่ใช้ก่อสร้างบ้านของเราเป็นปูน ชนิดใด คิดว่าก็คงเป็นปูนเหมือนๆกัน เพียงแต่ต่างยี่ห้อกัน ซึ่งเป็นการเข้าใจผิดอย่างแรง โดยทั่วไปนั้นปูนซีเมนต์ที่ช่างใช้กันมีอยู่ 2 ชนิด
ชนิดแรกเรียกว่าปูนโครงสร้าง หรือ เรียกตามศัพท์ช่างว่า ปูนแดง ( Portland Cement ) เช่น ตราช้าง ตราพญานาค ตราดอกจิก ซึ่งใช้ทำโครงสร้าง มีพลังอัดสูงและแข็งแรงกว่า
ชนิดที่ 2 หรือ เรียกตามศัพท์ช่างว่า ปูนเขียว หรือ ปูนก่อปูนฉาบ ( Silica Cement ) เช่น ตราเสือ ตรางูเห่า ตรานกอินทรี ซึ่งมีกำลังอัดน้อย จะใช้สำหรับงานก่ออิฐ หรืองานฉาบปูนเท่านั้น ระยะหลังมีวัสดุใหม่ๆที่ใช้เพื่อทดแทนอิฐประเภทเก่า จึงมีปูนสำหรับก่อและฉาบสำหรับวัสดุชนิดนั้น

วิศวกรโดยส่วนใหญ่จะคำนวณโครงสร้างโดยใช้มาตรฐานกำลังอัดของปูนโครงสร้าง ( Portland Cement ) พอมาทำจริงๆ หากผู้ก่อสร้างใช้ปูนก่อฉาบ ( Silica Cement ) ซึ่งแข็งแรงน้อยกว่า โครงสร้างบ้านของคุณก็จะไม่แข็งแรง ดังนั้นเวลาก่อสร้างเราควรตรวจสอบช่างด้วยว่าใช้ปูนชนิดใดทำงานให้เรา แต่ตอนนี้คอนกรีตสำเร็จเป็นที่นิยมมากขึ้น เขาผสมปูน ทราย หิน มาจากโรงงานเลย เพื่อใช้ทำโครงสร้าง ถ้าเป็นแบบนั้นก็พอเชื่อถือได้ดี แต่หากเป็นตึกใหญ่ๆ ก็ต้องคอยตรวจคุณภาพของปูนสำเร็จนั้นจากใบส่งของด้วย เพื่อความมั่นใจว่าคอนกรีตสำเร็จที่ส่งมานั้นมีความแข็งแรงเป็นไปตามที่ วิศวกรท่านคำนวณเอาไว้

Read Full Post »

Outside

Read Full Post »

Interior Design

Read Full Post »

Hello world!

Read Full Post »